5 ข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์มือใหม่ในการใช้ Stop Loss

5 ข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์มือใหม่ในการใช้ Stop Loss

ผู้เริ่มต้น
Nov 06, 2024
เจาะลึก 5 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการตั้งค่า Stop Loss และวิธีหลีกเลี่ยง เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์สามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น รักษาเงินทุน และลดการขาดทุนที่เกินกว่าการคาดการณ์ ด้วยเทคนิคการตั้ง Stop Loss อย่างมีประสิทธิภาพ

5 ข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์มือใหม่ในการใช้ Stop Loss

 

ในการเทรด การตั้งคำสั่ง Stop Loss อย่างเหมาะสมถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดสำหรับการบริหารความเสี่ยงและการปกป้องเงินลงทุน แม้เครื่องมือ Stop Loss จะถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เทรดเดอร์หลายคนยังคงมีข้อผิดพลาดในการตั้ง Stop Loss และนั่นอาจส่งผลให้ขาดทุนโดยไม่จำเป็นหรือต้องพลาดโอกาสการลงทุนอื่นๆได้ บทความนี้จะนำเสนอข้อผิดพลาด 5 ข้อในการตั้ง Stop Loss ที่พบเห็นได้บ่อย และวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเทรดของคุณ

 

การตั้ง Stop Loss คือพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยง แต่การตั้งค่าไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น การตั้งจุดที่แคบเกินไปจนโดนตัดขาดทุนเร็ว หรือการตั้งกว้างเกินไปจนเสียหายหนัก ที่ IUX เราพร้อมช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านี้ เราให้ข้อเสนอที่ดีกว่าโบรกเกอร์เจ้าอื่นและฟีเจอร์สำหรับตั้ง Stop Loss อย่างมืออาชีพ คุณจะสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกตลาด ร่วมเทรดกับ IUX วันนี้ แล้วควบคุมความเสี่ยงได้เพียงปลายนิ้ว!

 

1. ตั้ง Stop Loss ใกล้เกินไป

 

  • ข้อผิดพลาด: ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดของเทรดเดอร์คือการตั้งค่า Stop Loss ไว้ใกล้กับราคาที่ซื้อเข้ามากเกินไป ซึ่งพวกเขาคิดว่าการทำแบบนี้จะช่วยลดการขาดทุนได้ แต่ในตลาดที่มีความผันผวนสูง การขึ้นลงของราคามักทำให้ Stop Loss ถูกเปิดใช้งานเร็วเกินไป ส่งผลให้เกิดการปิดสัญญาซื้อขายโดยไม่จำเป็น ทั้ง ๆ ที่ถ้าปล่อยไว้ เทรดเดอร์อาจมีกำไรตามมา

 

  • วิธีเลี่ยง: เมื่อกำหนด Stop Loss ควรคำนึงถึงความผันผวนของสินทรัพย์ที่คุณกำลังเทรดอยู่ ใช้เครื่องมือเช่น Average True Range (ATR) เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของราคา และตั้ง Stop Loss ในระดับที่สามารถรองรับการขึ้นลงของตลาดได้โดยไม่ต้องให้คำสั่งถูกใช้งานเร็วเกินไป นอกจากนี้ การตั้ง Stop Loss ใกล้ ๆ กับแนวรับหรือแนวต้านในตลาดก็ช่วยลดความเสี่ยงที่สัญญาการซื้อขายจะถูกปิดได้เช่นกัน

 

2. ไม่ปรับ Stop Loss เมื่อราคาขยับไปในทิศทางที่ได้กำไร

 

  • ข้อผิดพลาด: นักเทรดจำนวนไม่น้อยลืมปรับ Stop Loss เมื่อตลาดขยับไปในทิศทางที่ทำกำไรได้ ส่งผลให้พลาดโอกาสในการรักษากำไร โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดกำลังมีแนวโน้มไปในขาขึ้นอย่างชัดเจน

 

  • วิธีเลี่ยง: ใช้คำสั่ง Trailing Stop Loss ที่จะปรับระดับ Stop Loss อัตโนมัติเมื่อราคาขยับขึ้นไป วิธีการนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าหากตลาดกลับตัว คุณยังสามารถเก็บกำไรบางส่วนไว้ได้ หรือหากคุณชอบการปรับด้วยตัวเอง ควรตรวจสอบการเทรดบ่อย ๆ และปรับ Stop Loss ให้ทันสถานการณ์เพื่อรักษากำไรที่ได้มา

 

3. มองข้ามตัวชี้วัดทางเทคนิค (Technical Indicators)  ในการตั้ง Stop Loss

 

  • ข้อผิดพลาด: การตั้ง Stop Loss โดยไม่พิจารณาตัวชี้วัดทางเทคนิค เช่น แนวรับ แนวต้าน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือแนวโน้มของตลาด เป็นข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อย นักเทรดบางคนเลือกตัวเลขสุ่มหรือตัวเลขกลม ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงพฤติกรรมของการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์จริง ๆ

 

  • วิธีเลี่ยง: ตั้ง Stop Loss โดยใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคเป็นหลักแทนการใช้ตัวเลขสุ่ม มองหาแนวรับ (จุดที่ราคามักเด้งกลับขึ้นมา) และแนวต้าน (จุดที่ราคามักเผชิญแรงขาย) การตั้ง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าแนวรับเล็กน้อยหรือต่ำกว่าจุดแนวต้านเล็กน้อยจะช่วยเพิ่มโอกาสที่การเทรดยังคงอยู่ต่อไปจนกว่าตลาดจะเปลี่ยนทิศทางจริง ๆ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีในการตั้ง Stop Loss

 

4. ปล่อยให้อารมณ์มีอิทธิพลต่อการปรับ Stop Loss

 

  • ข้อผิดพลาด: ความกลัวและความโลภเป็นอารมณ์ที่มักทำให้นักเทรดตัดสินใจผิดพลาด เทรดเดอร์บางคนขยับ Stop Loss ออกไปไกลกว่าเดิม ด้วยความที่หวังว่าตลาดจะกลับมาทำกำไรได้ และนั่นส่งผลให้ขาดทุนมากกว่าที่ควร และทำให้เครื่องมือ Stop Loss ขาดประสิทธิภาพในการปกป้องเงินลงทุน

 

  • วิธีเลี่ยง: ยึดมั่นในแผนการเทรดที่วางไว้และหลีกเลี่ยงการปรับ Stop Loss ตามอารมณ์ ความมีวินัยเป็นสิ่งสำคัญในการเทรด แผนการเทรดที่ดีควรกำหนดขอบเขตการขาดทุนที่รับได้เอาไว้แล้ว และเมื่อกำหนด Stop Loss แล้ว ควรปรับเปลี่ยนเฉพาะเมื่อมีเหตุผลทางเทคนิคที่ชัดเจนเท่านั้น เช่น สถานการณ์ของตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

5. ตั้ง Stop Loss ในระดับที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะตลาด

 

  • ข้อผิดพลาด: การตั้งค่า Stop Loss ในระดับที่ไกลเกินไป เป็นตัวเลขสุ่มหรือตัวเลขกลม ๆ หรือแทบจะเป็นตัวเลขที่เป็นไปไม่ได้  โดยไม่คำนึงถึงการวิเคราะห์ตลาด ซึ่งแทบไม่ได้ต่างจากการไม่ใช้ Stop Loss เป็นข้อผิดพลาดที่อาจทำให้คำสั่ง Stop Loss ไม่ถูกใช้งาน จนอาจจะทำให้สูญเสียเงินทุนมากเกินความจำเป็น

 

  • วิธีเลี่ยง: ใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิค เช่น แนวรับ แนวต้าน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือลากเส้นแนวโน้ม เพื่อระบุจุดตั้ง Stop Loss ที่เหมาะสม การตั้ง Stop Loss ในระดับที่มีความหมายทางเทคนิคช่วยให้โอกาสการเทรดยังคงอยู่ได้นานขึ้น และออกจากสถานะเมื่อแนวโน้มตลาดมีการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ

 

สรุป

 

Stop Loss เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดการความเสี่ยงในการเทรด แต่การใช้งานที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ผลลัพธ์การเทรดไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั่วไป เช่น การตั้ง Stop Loss ใกล้เกินไป ไม่ปรับ Stop Loss เมื่อตลาดขยับ มองข้ามตัวชี้วัดทางเทคนิค ปล่อยให้อารมณ์มีอิทธิพล หรือการตั้ง Stop Loss ที่ไม่สอดคล้องกับตลาด จะช่วยให้กลยุทธ์การเทรดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยปกป้องเงินทุนได้ดีขึ้น

 

จงจำไว้ว่ากุญแจสู่ความสำเร็จในการเทรดคือวินัยและการวางแผนกลยุทธ์ การตั้ง Stop Loss อย่างถูกต้องช่วยให้คุณเทรดด้วยความมั่นใจมากขึ้นเพราะรู้ว่าความเสี่ยงถูกควบคุมไว้อย่างดีแล้ว ใช้คำแนะนำเหล่านี้ในการปรับปรุงการตั้ง Stop Loss ของคุณ เพื่อลดการขาดทุนที่เกินกว่าที่จำเป็นและโฟกัสไปที่การสร้างผลกำไรในระยะยาว