Stop-Loss vs. Stop-Limit Orders: เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับการเทรด

Stop-Loss vs. Stop-Limit Orders: เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับการเทรด

ผู้เริ่มต้น
Nov 07, 2024
Stop-Loss กับ Stop-Limit Orders: เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการเทรดของคุณ

Stop-Loss vs. Stop-Limit Orders: เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับการเทรด

 

การเทรดในตลาดการเงินต้องอาศัยการตัดสินใจที่แม่นยำเพื่อจัดการความเสี่ยงและปกป้องผลกำไร สำหรับเทรดเดอร์ทุกคนการเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Stop-Loss Orders และ Stop-Limit Orders สามารถช่วยให้คุณเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับเป้าหมายหรือสไตล์การลงทุนของคุณได้ บทความนี้จะอธิบายความแตกต่าง ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการเลือกใช้คำสั่งทั้งสองแบบให้เหมาะกับสถานการณ์จริง

 

 

Stop-Loss และ Stop-Limit Orders คืออะไร?

 

Stop-Loss Order

 

Stop-Loss เป็นคำสั่งที่ช่วยป้องกันการขาดทุนโดยคำสั่งนี้จะช่วยขายสินทรัพย์ในทันทีเมื่อราคาตลาดลดลงถึงระดับที่คุณกำหนดไว้ล่วงหน้า

เมื่อราคาของสินทรัพย์เคลื่อนที่ถึงราคาที่ตั้งไว้ คำสั่งจะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Market Order ทำให้สินทรัพย์ถูกขายในราคา ณ ขณะนั้น แต่เป็นไปได้ว่าราคาขายอาจจะมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยจากราคาที่ตั้งไว้ในกรณีที่ตลาดผันผวน

 

Stop-Limit Order

 

Stop-Limit เป็นคำสั่งที่ช่วยควบคุมราคาขายได้แม่นยำมากขึ้น โดยการกำหนดทั้ง Stop Price (จุดเริ่มคำสั่ง) และ Limit Price (ราคาขั้นต่ำที่ยอมรับได้) คำสั่งจะเริ่มทำงานเมื่อราคาสินทรัพย์ในตลาดเคลื่อนที่ไปถึงจุด Stop Price และดำเนินการต่อเมื่อราคายังอยู่ในช่วงที่กำหนด หากราคาตลาดต่ำกว่าระดับ Limit Price คำสั่งจะไม่ถูกดำเนินการ

 

Stop-Loss และ Stop-Limit Orders เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเทรดเดอร์บริหารความเสี่ยงในตลาดที่ผันผวน Stop-Loss ช่วยปกป้องพอร์ตของคุณด้วยการปิดการเทรดทันทีเมื่อราคาตลาดแตะระดับที่กำหนด ส่วน Stop-Limit ช่วยให้คุณควบคุมราคาขายได้แม่นยำยิ่งขึ้น IUX มุ่งมั่นสนับสนุนการเทรดของคุณ ด้วยแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย รองรับทั้ง คอมพิวเตอร์และสมาทโฟน มาพร้อมข้อเสนอที่ดีเหนือระดับ ลงทะเบียน  เพื่อให้ทุกการเทรดของคุณรวดเร็วและปลอดภัย!

 

ความแตกต่างระหว่าง Stop-Loss และ Stop-Limit Orders

 

 

ตัวอย่างการใช้งาน

 

  • Stop-Loss Order
    หากคุณซื้อหุ้นในราคา 1,000 บาท และต้องการจำกัดการขาดทุนไว้ที่ 900 บาท คุณสามารถตั้งคำสั่ง Stop-Loss ไว้ที่ 900 บาท เมื่อราคาหุ้นลดลงถึง 900 บาท คำสั่ง Stop Loss จะเปลี่ยนเป็น Market Order และถูกขายในราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งราคาอาจคลาดเคลื่อนเป็น 899 หรือ 901 บาท ก้ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในตลาด

 

  • Stop-Limit Order
    สมมติคุณซื้อหุ้นในราคา 1,000 บาท และตั้ง Stop Price ที่ 900 บาท และ Limit Price ที่ 890 บาท หากราคาลดลงถึง 900 บาท คำสั่งจะเริ่มทำงาน แต่สินทรัพย์จะถูกขายเฉพาะในกรณีที่ราคาตลาดไม่ต่ำกว่า 890 บาท หากตลาดผันผวนจนทำให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็วจนระบบจับคู่คำสั่งซื้อขายไม่ทัน คำสั่งจะไม่ถูกดำเนินการ

 

 

ข้อดีและข้อเสียของ Stop-Loss และ Stop-Limit Orders

 

Stop-Loss Orders

ข้อดี

  • ใช้งานง่ายและเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่
  • ช่วยป้องกันการขาดทุนรุนแรงในตลาดที่ผันผวน
  • คำสั่งขายจะเกิดขึ้นแน่นอนเมื่อราคาถึงจุดที่ตั้งไว้

ข้อเสีย

  • อาจขายในราคาที่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้เนื่องจากความผันผวน
  • อาจถูกไล่ระดับราคา (Stop Hunting) ในตลาดที่ผู้เล่นใหญ่ใช้วิธีดันราคาลงก่อนดึงกลับ

 

Stop-Limit Orders

ข้อดี

  • ควบคุมราคาขายได้แม่นยำกว่า
  • ช่วยหลีกเลี่ยงการขายในราคาที่ต่ำเกินไป
  • มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในกรณีที่ราคายังไม่เหมาะสม

ข้อเสีย

  • คำสั่งอาจไม่ถูกดำเนินการหากราคาตลาดต่ำกว่าระดับ Limit Price
  • ซับซ้อนกว่าสำหรับนักลงทุนมือใหม่
  • เสี่ยงต่อการไม่ได้ขายในตลาดที่เคลื่อนไหวเร็ว

 

 

เคล็ดลับการเลือกใช้งานคำสั่ง Stop-Loss และ Stop-Limit ให้เหมาะสม

 

การเลือกใช้คำสั่ง Stop-Loss หรือ Stop-Limit ไม่ได้มีสูตรสำเร็จเสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในตลาดและเป้าหมายการลงทุนของคุณ ด้านล่างนี้คือแนวทางที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นและเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์:

1. ตลาดผันผวนสูง

 

ตลาดที่มีการเคลื่อนไหวของราคาอย่างรวดเร็ว เช่น ตลาดในช่วงที่มีข่าวสำคัญ การเปิด-ปิดตลาด หรือหุ้นที่มีความผันผวนสูง (High Volatility Stocks) อาจสร้างความท้าทายในการเทรดได้

  • ใช้ Stop-Loss Orders
    หากคุณต้องการ ความแน่นอน ในการขายเพื่อจำกัดการขาดทุน Stop-Loss Orders จะช่วยให้คุณขายหุ้นได้ทันทีเมื่อราคาลงถึงจุดที่ตั้งไว้ แม้ว่าราคาขายจริงอาจต่ำกว่าที่ตั้งไว้เล็กน้อย แต่เหมาะสำหรับสถานการณ์ที่ต้องการลดความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว

  • ใช้ Stop-Limit Orders
    หากคุณสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการขายไม่ได้ เพื่อแลกกับ การควบคุมราคา Stop-Limit Orders จะช่วยให้คุณตั้งกรอบราคาขายที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่คำสั่งอาจไม่ถูกดำเนินการ หากราคาตลาดหลุดต่ำกว่าระดับ Limit Price

ตัวอย่าง:
หุ้นที่คุณถือมีราคาผันผวนระหว่าง 100–120 บาท หากคุณไม่ต้องการขายต่ำกว่า 90 บาท อาจตั้ง Stop-Limit โดยกำหนด Stop Price ที่ 95 บาท และ Limit Price ที่ 90 บาท เพื่อป้องกันการขายในราคาที่ต่ำเกินไป

 

2. นักลงทุนมือใหม่

 

สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีประสบการณ์มากนัก การจัดการความเสี่ยงอาจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

  • Stop-Loss Orders คือคำสั่งที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด
    เนื่องจากสามารถตั้งค่าได้ง่ายและช่วยจำกัดการขาดทุนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตั้งกรอบราคาซับซ้อน Stop-Loss เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่นักลงทุนมือใหม่ควรเรียนรู้และใช้เพื่อปกป้องเงินลงทุน

ตัวอย่าง:
คุณซื้อหุ้นในราคา 50 บาท และต้องการจำกัดการขาดทุนไว้ที่ 10% คุณสามารถตั้ง Stop-Loss Order ไว้ที่ 45 บาท ระบบจะช่วยขายหุ้นทันทีเมื่อราคาตลาดลดลงถึงระดับนี้

คำแนะนำเพิ่มเติม:

  • เริ่มต้นด้วยการตั้ง Stop-Loss ใกล้กับราคาที่คุณซื้อ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในช่วงแรก
  • ศึกษาและติดตามราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับคำสั่งตามความเคลื่อนไหวของตลาด

 

คำถามที่พบบ่อย

 

1. Stop-Loss เหมาะกับทุกสถานการณ์หรือไม่?
ไม่เสมอไป ในตลาดที่ผันผวน คำสั่งอาจขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าจุดที่ตั้งไว้

 

2. Stop-Limit ใช้งานยากไหม?
Stop-Limit อาจซับซ้อนสำหรับนักลงทุนมือใหม่ เนื่องจากต้องตั้งราคาสองระดับ (Stop และ Limit) แต่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการขาย

 

 

สรุป

 

Stop-Loss และ Stop-Limit Orders เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยนักลงทุนจัดการความเสี่ยงและปกป้องผลกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และลักษณะของตลาดที่คุณลงทุน เมื่อคุณเข้าใจการใช้งานและปรับใช้ให้เหมาะสม คุณจะสามารถตอบสนองต่อความผันผวนของตลาดได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพสูงสุด