
วิธีตั้ง Stop Loss และ Take Profit ในการเทรดหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีตั้ง Stop Loss และ Take Profit ในการเทรดหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
การเทรดหุ้นไม่ใช่แค่การเลือกหุ้นที่ดี หรือมองเห็นโอกาสทำกำไรได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ตัวเองรับได้ เพราะแม้จะมีการวิเคราะห์หุ้นที่แม่นยำเพียงใด ตลาดหุ้นก็ยังมีความผันผวนและคาดเดายากเสมอ นักเทรดหลายคนเคยเผชิญกับสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะได้กำไรแน่ๆ เมื่อเปิดออเดอร์ไปแล้วด้วยความมั่นใจเต็มที่ แต่สุดท้ายกลับต้องผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ตรงข้าม เพราะไม่ได้วางแผนการตั้งจุด Stop Loss และจุด Take Profit เอาไว้ให้ชัดเจนตั้งแต่แรก
การวางแผนกำหนดจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) และจุดทำกำไร (Take Profit) ที่ดี เปรียบเสมือนการสร้างเกราะป้องกันความเสี่ยง และล็อกเป้าหมายในการทำกำไรเอาไว้อย่างชัดเจน วันนี้เราจะมาดูอย่างละเอียดกันว่า เครื่องมือสองตัวนี้มีความสำคัญอย่างไร ช่วยให้ชีวิตนักเทรดหุ้นง่ายขึ้นได้อย่างไร และมีหลักการในการนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไรบ้าง
Stop Loss และ Take Profit คืออะไร และสำคัญยังไงต่อการเทรดหุ้น?
- Stop Loss (จุดตัดขาดทุน) คือการตั้งจุดที่หุ้นจะถูกขายออกไปอัตโนมัติ หากราคาหุ้นเคลื่อนไหวผิดจากที่คาดไว้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อหุ้นที่ 100 บาท และตั้ง Stop Loss ที่ 95 บาท เมื่อราคาลดลงมาถึงจุดนี้ หุ้นจะถูกขายออกทันทีเพื่อจำกัดการขาดทุน
- Take Profit (จุดทำกำไร) คือจุดที่กำหนดไว้ให้ระบบขายหุ้นอัตโนมัติเมื่อราคาถึงเป้าหมายกำไรที่เราตั้งไว้ เช่น ซื้อหุ้นที่ 100 บาท ตั้ง Take Profit ไว้ที่ 110 บาท พอหุ้นวิ่งถึงราคานี้ หุ้นจะขายทำกำไรให้ทันทีโดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ
เครื่องมือทั้งสองช่วยให้นักเทรดหุ้นมีวินัย และเทรดอย่างเป็นระบบมากขึ้น ลดโอกาสเกิดการขาดทุนจากการเทรดด้วยอารมณ์หรือความลังเล
ข้อดีของการตั้ง Stop Loss และ Take Profit ในการเทรดหุ้น
-
- ช่วยจำกัดความเสี่ยงจากราคาหุ้นที่ผันผวนหนัก
- ป้องกันการตัดสินใจผิดพลาดจากอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง
- เพิ่มวินัยในการเทรดหุ้นให้เป็นระบบชัดเจน
- ช่วยรักษากำไรในช่วงที่ตลาดมีความไม่แน่นอนสูง
เทคนิคการตั้ง Stop Loss อย่างเหมาะสม
การตั้ง Stop Loss แบบมืออาชีพในการเทรดหุ้น ต้องพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้
-
กำหนดจากเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยง:
นักเทรดหุ้นมืออาชีพมักตั้งจุด Stop Loss ประมาณ 3-5% จากราคาที่เข้าซื้อหุ้น เช่น ซื้อหุ้น 100 บาท Stop Loss ที่ 97 บาท เป็นต้น
-
ตั้งจากแนวรับแนวต้านบนกราฟ:
แนวรับและแนวต้านคือจุดสำคัญที่นักเทรดหุ้นนิยมใช้ หากราคาหุ้นหลุดแนวรับสำคัญ นั่นอาจเป็นสัญญาณขายที่ดี
ตัวอย่าง:
คุณซื้อหุ้น ABC ที่ราคา 200 บาท โดยมีแนวรับสำคัญที่ 195 บาท คุณอาจตั้ง Stop Loss ไว้ที่ประมาณ 194-195 บาท หากราคาหุ้นหลุดจากจุดนี้ ระบบจะช่วยคุณจำกัดความเสียหายได้ทันที
เทคนิคการตั้ง Take Profit ให้ได้ผลจริง
-
กำหนดเป้าหมายกำไร (Risk-Reward Ratio):
นักเทรดหุ้นที่มีประสบการณ์จะตั้ง Take Profit โดยให้มีสัดส่วนกับความเสี่ยงอย่างน้อย 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 เช่น ถ้าตั้ง Stop Loss ไว้ที่ขาดทุน 5 บาท อาจตั้ง Take Profit เพื่อกำไร 10 หรือ 15 บาท เป็นการสร้างความได้เปรียบในการเทรดหุ้นระยะยาว
-
ใช้แนวต้านสำคัญบนกราฟ:
แนวต้านคือจุดที่ราคาหุ้นเคยขึ้นไปแล้วไม่สามารถผ่านได้ การตั้ง Take Profit ที่ระดับแนวต้านสำคัญจะช่วยให้มีโอกาสขายหุ้นทำกำไรในจุดที่เหมาะสมมากขึ้น
-
แบ่งกำไรเป็นหลายจุด (Partial Profit-taking):
เช่น ซื้อหุ้นที่ 100 บาท อาจตั้ง Take Profit จุดแรกที่ 107 บาท และจุดที่สองที่ 115 บาท ช่วยให้คุณล็อกกำไรบางส่วนได้ก่อนและมีโอกาสทำกำไรสูงขึ้นอีกในอนาคต
ข้อผิดพลาดที่นักเทรดหุ้นมักทำเมื่อใช้ Stop Loss และ Take Profit
หลายคนที่เทรดหุ้นมักจะเคยทำผิดพลาดแบบนี้
- ตั้ง Stop Loss ใกล้เกินไป จนถูกขายบ่อยเกินจำเป็น
- เลื่อนจุด Stop Loss บ่อย เพราะกลัวขาดทุน จะทำให้คุณเสียวินัยในการเทรด
- ตั้ง Take Profit สูงเกินไป จนไม่ได้ขายเมื่อหุ้นถึงจุดสูงสุดก่อนราคากลับลงมา
วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดคือยึดมั่นในแผนที่วางไว้เสมอ และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในการตัดสินใจทุกครั้งที่เทรดหุ้น
เทรดเดอร์หลายคนเลือกที่จะไม่ใช่เครื่องมือ Stop Loss เนื่องจากมั่นใจในฝีมือและการวิเคราะ์กราฟของตนเอง และหลายครั้งเรื่องนี้ทำให้เกิดการขาดทุนไปจนถึงการล้างพอร์ตของเทรดเดอร์ได้ ใช้เครื่องมือ Stop Loss หลากหลายรูปแบบบน IUX ช่วยในการจัดการการเทรดของคุณ ไม่ว่าคุณจะต้องการการเปิดสัญญาซื้อขายอัตโนมัติ หรือตั้งจุดขาดทุน หรือแม้แต่การขยับจุด Stop Loss อัตโนมัติเมื่อกำไรพุ่งสูงขึ้น IUX พร้อมที่จะช่วยคุณก้าวไปอีกขั้นของการสร่้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า
สมัครเทรดกับ IUX ได้แล้ววันนี้
ตัวช่วยที่นักเทรดหุ้นต้องมีไว้ (Tools)
เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ เช่น โปรแกรมกราฟหุ้นและแพลตฟอร์มการเทรดหุ้นต่างๆ เช่น TradingView, MetaTrader หรือแพลตฟอร์มที่ให้บริการโดยโบรกเกอร์ที่นักเทรดใช้งานอยู่ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเทรดและกำหนดจุด Stop Loss และ Take Profit ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือเหล่านี้มักจะมีฟังก์ชันอำนวยความสะดวก เช่น การแสดงแนวรับ-แนวต้าน, การคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk-Reward Ratio), การแจ้งเตือนราคาหุ้นแบบเรียลไทม์ รวมถึงตัวชี้วัดเทคนิคต่างๆ เช่น RSI, MACD, และ Fibonacci Retracement ที่ช่วยให้นักเทรดสามารถตัดสินใจในการตั้งจุด Stop Loss และ Take Profit ได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผลมากขึ้น
การมีเครื่องมือที่เหมาะสมและรู้จักใช้งานอย่างคล่องแคล่ว จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและประสิทธิภาพในการเทรดของคุณได้อย่างชัดเจน
สรุป
ในหนังสือ Trade Your Way to Financial Freedom โดย Van K. Tharp กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า นักเทรดที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น ไม่ใช่คนที่ทำนายตลาดได้แม่นยำทุกครั้ง แต่เป็นผู้ที่มีวินัยในการบริหารความเสี่ยงและควบคุมอารมณ์ในการเทรดอย่างเคร่งครัด
และนอนว่าการตั้งจุด Stop Loss ไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อจำกัดความเสียหายจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด และกำหนดจุด Take Profit อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ถูกอารมณ์โลภหรือกลัวเข้าครอบงำ จนทำให้พลาดโอกาสในการทำกำไรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เป็นวิธีช่วยให้พวกเขารักษาผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ แม้ในวันที่ตลาดเกิดความผันผวนรุนแรงก็ตาม
การตั้ง Stop Loss และ Take Profit คือหัวใจหลักในการจัดการความเสี่ยงสำหรับนักเทรดหุ้นที่ต้องการความสำเร็จอย่างยั่งยืน อย่าปล่อยให้ตลาดเป็นฝ่ายควบคุมเงินทุนของคุณ เริ่มต้นตั้งจุด Stop Loss และ Take Profit อย่างจริงจัง เพื่อปกป้องเงินทุนและสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในการเทรดหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน