วิธีใช้ดัชนีหุ้นในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดเบื้องต้น

วิธีใช้ดัชนีหุ้นในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดเบื้องต้น

ผู้เริ่มต้น
Nov 20, 2024
เรียนรู้วิธีการใช้ดัชนีตลาดหุ้นสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มพื้นฐาน เข้าใจตัวชี้วัดสำคัญ และรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของตลาดเพื่อพัฒนากลยุทธ์การลงทุนของคุณ

วิธีใช้ดัชนีหุ้นในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดเบื้องต้น

 

ก่อนเข้าสู่เนื้อหาของบทความวันนี้ ลองสังเกตว่าทำไมเมื่อเปิดดูช่องโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ข่าว มักพบการรายงานตัวเลขการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหุ้นในตลาดที่สำคัญ หลายคนอาจมองว่าเป็นการรายงานข่าวเศรษฐกิจทั่วไป แต่ในความเป็นจริง ตัวเลขเหล่านี้เป็นหนึ่งในเข็มทิศสำคัญที่สะท้อนข้อมูลเชิงลึก และสามารถนำไปปรับใช้ในการวางกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับทิศทางของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะอธิบายและช่วยให้เข้าใจความสำคัญของดัชนีหุ้นในมิติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

ดัชนีหุ้นคืออะไร? สะท้อนภาพรวมตลาดอย่างไร?

 

ดัชนีหุ้นเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยแสดงถึงค่าเฉลี่ยของราคาหุ้นสำหรับกลุ่มหลักทรัพย์ที่ถูกเลือกมา เป็นตัวแทนที่แสดงภาพรวมของตลาดหุ้นทั้งหมด โดยสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตาม ควรเข้าใจว่าดัชนีเป็นเพียงภาพรวม และอาจมีหุ้นบางตัวที่เคลื่อนไหวแตกต่างจากทิศทางของดัชนีได้

 

ดัชนีหุ้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่สะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้น โดยแสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีหุ้นนั้น คำนวณได้จากการนำมูลค่าตลาดรวมของหุ้นทั้งหมดที่อยู่ในดัชนีนั้นๆ เทียบกับมูลค่า Base Market Value ทำให้สามารถดูแนวโน้มของตลาดโดยรวมได้ว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง 

 

เมื่อดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น แสดงว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและภาวะเศรษฐกิจที่ดี ในทางกลับกัน หากดัชนีปรับตัวลดลง ก็สะท้อนว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีเป็นเพียงภาพรวม อาจมีหุ้นบางตัวที่เคลื่อนไหวสวนทางกับดัชนีได้

 

ดัชนีอะไรบ้างที่สำคัญ ที่ควร List เอาไว้ 

 

สำหรับนักลงทุนหลายๆคนจะติดตามดัชนีตลาดหุ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้วัดภาพรวมและทิศทางของตลาดการเงิน โดยดัชนีแต่ละตัวจะสะท้อนถึงผลการดำเนินงานของกลุ่มหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เป็นตัวแทนของตลาดหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ เราจะมาแนะนำรายชื่อดัชนีสำคัญที่คุณควรรู้จักเอาไว้

 

ดัชนีตลาดโลกที่สำคัญ

 

  • S&P 500 (สหรัฐอเมริกา)

  • Dow Jones Industrial Average (สหรัฐอเมริกา) 

  • NASDAQ Composite (สหรัฐอเมริกา)

  • FTSE 100 (สหราชอาณาจักร)

  • DAX (เยอรมนี)

  • CAC 40 (ฝรั่งเศส)

  • Nikkei 225 (ญี่ปุ่น)

  • Shanghai Composite (จีน)

  • Hang Seng (ฮ่องกง)

 

ขยายเพิ่มเติม : S&P 500 ระกอบด้วยหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ 500 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ มีการกระจายตัวของอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยมีสัดส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ 27%, สุขภาพ 15%, สินค้าคงทน และการสื่อสาร อย่างละ 11% ส่วน Dow Jones ประกอบด้วยหุ้นของบริษัทชั้นนำเพียง 30 บริษัท คำนวณโดยใช้วิธีถ่วงน้ำหนักตามราคาหุ้น (price-weighted) ไม่ใช่มูลค่าตลาด มีการกระจายตัวของอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างดี โดยมีสัดส่วนสูงสุดในภาคอุตสาหกรรม 21%, บริการทางการเงิน 18%, บริการผู้บริโภค 17% และสุขภาพ 15% ในด้าน NASDAQ Composite เป็นดัชนีที่มีความโดดเด่นในด้านเทคโนโลยี มีสัดส่วนของหุ้นเทคโนโลยีสูงถึง 52% และหุ้นผู้บริโภค 16%

 

ดัชนีหุ้นไทย 

 

  • SET Index

  • SET50 Index 

  • SET100 Index

  • MAI Index

 

ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรม

 

  • MSCI World Information Technology Index

  • S&P Global 1200 Health Care Index

  • S&P Global 1200 Consumer Staples Index

  • S&P Global 1200 Financials Index

  • S&P Global 1200 Energy Index



วิธีการอ่านและแปลความหมายดัชนีหุ้น

 

การอ่านและแปลความหมายดัชนีหุ้นเป็นทักษะที่ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสภาวะตลาดได้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการสังเกตทิศทางการเคลื่อนไหวของดัชนีว่าขึ้น ลง หรือทรงตัว ซึ่งสะท้อนภาพรวมของตลาด ณ ขณะนั้น การเปรียบเทียบค่าดัชนีในช่วงเวลาต่างๆ ช่วยให้เห็นพัฒนาการของตลาดได้ชัดเจน เช่น เทียบระหว่างวัน สัปดาห์ หรือเดือน นอกจากนี้ การดูแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงของตลาดจากกราฟดัชนีระยะยาว ทำให้เข้าใจทิศทางหลักของตลาดได้ดีขึ้น การใช้ดัชนีร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือ RSI ช่วยเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ให้ครอบคลุมมากขึ้นได้







ตัวอย่างการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด 

 

เราสามารถใช้ดัชนีหุ้น มาช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดได้ เพื่อประเมินสภาวะตลาดโดยรวม เราจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ในเนื้อหาหัวข้อนี้

 

การดูแนวโน้มระยะยาว

 

  • สมมติว่าเราพิจารณาดัชนีหนึ่งๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดต่ำสุดที่ 800 ในช่วง 5 ปีที่แล้ว และปัจจุบันอยู่ที่ 1,200 จุด การที่ดัชนีสร้างจุดสูงสุดใหม่และจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าเดิมอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้น (สำหรับเทรดในระยะยาว)

 

แนวโน้มระยะกลาง

 

  • หากพิจารณาในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อาจพบว่าดัชนีนั้นที่เราดู มีการแกว่งตัวขึ้นและลง ในกรอบแคบ ซึ่งอาจจะบ่งชี้ถึงแนวโน้มแบบ Sideways หรือไม่มีทิศทางชัดเจนในระยะกลาง

 

แนวโน้มระยะสั้น

 

  • ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สมมติว่าดัชนีนั้นๆ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย มีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น และค่า RSI อยู่ที่ 65 ซึ่งยังไม่ถึงระดับ Overbought ที่ 70 ข้อมูลนี้บ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้นในระยะสั้น

 

การวิเคราะห์เชิงลึก

 

ซึ่งหากตัวอย่างดังกล่าว (ข้างบน) เป็นการวิเคราะห์ SET50 ให้เราเอาไปเทียบกับดัชนี SET Index ก็จะอนุมานได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนี SET Index พบว่าดัชนี SET50 ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ว่าหุ้นขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่ดีกว่าหุ้นขนาดกลางและเล็ก นี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้นของการเอาดัชนี้หุ้นไปใช้วิเคราะห์








เราจะวิเคราะห์ดัชนีหุ้นร่วมกับปัจจัยทางพื้นฐานอย่างไรได้บ้าง

 

การวิเคราะห์ดัชนีหุ้นร่วมกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโลกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการคาดการณ์แนวโน้มตลาด โดยนักลงทุนควรให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจหลักๆ เช่น อัตราการเติบโตของ GDP ซึ่งสะท้อนภาพรวมของเศรษฐกิจ 

 

อัตราเงินเฟ้อที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและผู้ผลิตก็เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนมุมมองต่อเศรษฐกิจในอนาคต และสุดท้ายอัตราการว่างงานที่แสดงถึงสภาวะของตลาดแรงงาน 

 

การติดตามตัวเลขเหล่านี้จากประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจทิศทางเศรษฐกิจโลกและคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับดัชนีหุ้นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้กับการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นในอดีต จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินแนวโน้มได้ดียิ่งขึ้น



ท้ายบทความ

 

ก่อนจะจบกันไปสำหรับเนื้อหาในบทความนี้ เราขอบอก Secret Tips สำหรับการใช้ดัชนีหุ้นวิเคราะห์แนวโน้มตลาด 8 ข้อ

 

  1. อย่าดูแค่ดัชนีเดียว - เปรียบเทียบหลายๆ ดัชนีเพื่อให้ได้มุมมองที่รอบด้าน เช่น ดู SET Index ควบคู่กับ SET50 และ MAI Index

  2. ใช้กรอบเวลาหลายระดับ - วิเคราะห์ทั้งแนวโน้มระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อเห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น

  3. สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี - บางครั้งดัชนีอาจเคลื่อนไหวสวนทางกัน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด

  4. ใช้ดัชนีร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ - เช่น RSI หรือ MACD เพื่อยืนยันสัญญาณ

  5. ติดตามปัจจัยพื้นฐานควบคู่ไปด้วย - ข่าวเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน หรือเหตุการณ์สำคัญระดับโลกล้วนส่งผลต่อดัชนี

  6. ระวังช่วงเวลาพิเศษ - เช่น ช่วงประกาศผลประกอบการ หรือช่วงปรับดัชนี ซึ่งอาจทำให้ดัชนีผันผวนผิดปกติ

  7. อย่าลืมว่าดัชนีเป็นเพียงค่าเฉลี่ย - หุ้นบางตัวอาจเคลื่อนไหวแตกต่างจากดัชนีมาก ดังนั้นควรวิเคราะห์เชิงลึกในระดับหุ้นรายตัวด้วย

 

ฝึกฝนและสร้างประสบการณ์ - การอ่านและแปลความหมายดัชนีต้องอาศัยการฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์ อย่าท้อถ้าเริ่มต้นยังไม่แม่นยำ