สร้างแผนการเงินให้มั่นคง ก่อนที่คุณจะเริ่มลงทุน
สร้างแผนการเงินให้มั่นคง ก่อนที่คุณจะเริ่มลงทุน
หากคุณคิดจะเริ่มลงทุน หลายคนอาจมองภาพการซื้อหุ้น การเทรดคริปโต หรือการหากองทุนดี ๆ สักกองเพื่อเพิ่มพูนผลตอบแทนในระยะยาว แต่มีเรื่องหนึ่งที่นักลงทุนมือใหม่มักมองข้ามไป นั่นคือ “การสร้างแผนการเงินก่อนเริ่มลงทุน”
ลองจินตนาการว่าการลงทุนคือการสร้างบ้าน หากคุณลงทุนโดยไม่มีแผนการเงินที่มั่นคง ก็เหมือนกับการสร้างบ้านบนพื้นดินที่ไม่แข็งแรง วันหนึ่งเมื่อเกิดวิกฤตการเงิน หนี้สินเพิ่มขึ้น หรือรายได้ลดลง บ้านหลังนั้นอาจพังลงมาได้ทุกเมื่อ
ดังนั้น ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเส้นทางการลงทุน มาเรียนรู้วิธีสร้างแผนการเงินให้แข็งแรงในแบบที่นักลงทุนมืออาชีพทำกัน
เข้าใจสถานะทางการเงินของตัวเอง
ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้เงินลงทุนไปกับสินทรัพย์ใดๆก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “เช็คสุขภาพทางการเงิน” เพื่อดูว่าคุณพร้อมลงทุนหรือยัง โดยเริ่มจากการตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้:
- คุณมีรายได้ต่อเดือนเท่าไร?
- ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของคุณเป็นอย่างไร?
- คุณมีหนี้สินอะไรบ้าง เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อรถและบ้าน?
- คุณมีเงินเก็บสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือไม่?
ทุนสำรองฉุกเฉินเป็นหลายเรื่องที่ทุกคนมักจะมองข้ามไป เรื่องไม่คาดฝันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่มีอะไรที่จะการันตีได้เลยว่าวันพรุ่งนี้คุณจะไม่ตกงาน หรืออุบัติเหตุที่ต้องใช้ค่ารักษาก้อนใหญ่ คุณมีเงินสำรองเหล่านั้นเพียงพอที่จะรับมือเรื่องเหล่านี้หรือไม่
นี่จึงเป็นเหตุผลที่นักวางแผนการเงินมืออาชีพแนะนำว่า ทุกคนควรมีทุนสำรองฉุกเฉินเพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด โดยกองทุนนี้เปรียบเสมือนหลักประกันที่ช่วยปกป้องคุณจากปัญหาการเงินกะทันหัน
กำหนดเป้าหมายทางการเงิน
เป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอยากซื้อบ้าน บางคนอยากเกษียณเร็ว หรือบางคนอยากมีรายได้เสริมจากการลงทุน สิ่งสำคัญคือ คุณต้องรู้ว่าคุณลงทุนไปเพื่ออะไร
ตัวอย่างเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน เช่น
- ต้องการซื้อคอนโดใน 5 ปีข้างหน้า
- มีเงินเก็บ 10 ล้านบาทให้ได้ก่อนอายุ 50 ปี
- วางแผนค่าเล่าเรียนในอนาคตให้ลูก
การตั้งเป้าหมายแบบง่ายๆโดยใช้หลัก SMART Goals
- Specific: เป้าหมายต้องชัดเจน เช่น “เก็บเงินซื้อบ้าน 5 ล้านบาท”
- Measurable: ต้องวัดผลได้ เช่น ต้องเก็บเดือนละ 10,000 บาท
- Achievable: เป้าหมายต้องเป็นไปได้ ไม่สูงเกินไปจนกดดันตัวเอง
- Relevant: สอดคล้องกับความต้องการจริง ๆ
- Time-bound: มีระยะเวลากำหนด เช่น เก็บเงินให้ครบภายใน 5 ปี
ประเมินความเสี่ยงที่เรารับได้
การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง หากคุณลงทุนโดยไม่เข้าใจความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ คุณอาจรู้สึกเครียดหรือกังวลเมื่อมูลค่าพอร์ตลดลง
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ
- อายุ: คนอายุน้อยสามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่า เพราะหากผิดพลาด ยังมีเวลาฟื้นตัวจากการขาดทุน
- ภาระหนี้สิน: หากคุณมีภาระหนี้สินเยอะ ควรลดความเสี่ยงในการลงทุน
- ความรู้: ยิ่งคุณมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากเท่าไร คุณยิ่งรับมือกับความเสี่ยงได้ดีขึ้น
หากยังไม่แน่ใจในการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง อาจจะลองทำแบบทดสอบ Risk Profile จากโบรกเกอร์หรือสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ
จัดงบประมาณการลงทุน
หากจะพูดให้เข้าใจแบบง่ายที่สุด การลงทุนที่ดี เงินที่นำมาลงทุนควรเป็นเงินที่คุณสามารถ “ขาดทุนได้” โดยไม่กระทบชีวิตประจำวัน ดังนั้น คุณต้องแยกเงินที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันออกจากเงินลงทุนอย่างชัดเจน
วิธีการง่ายๆก็คือการใช้ กฏ 50/30/20
- 50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ากินอยู่ ยานพาหนะ และค่าใช้จ่ายต่างๆประจำเดือน
- 30% สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น การท่องเที่ยว หรืออาหารมื้อพิเศษ
- 20% สำหรับการออมและการลงทุน
ยกตัวอย่าง หากคุณมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท คุณสามารถแบ่งเงินจำนวน 6,000 บาท (20%) เพื่อลงทุนได้ในแต่ละเดือน
เลือกกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสม
เมื่อคุณมีแผนการเงินที่มั่นคงแล้ว ขั้นต่อไปคือการเลือก กลยุทธ์การลงทุน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
ยกตัวอย่างการจัดพอร์ตลงทุนแบบง่าย ๆ:
- หุ้น: 50% (เน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาว)
- กองทุนรวม: 30% (ลดความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุน)
- ตราสารหนี้: 20% (เพื่อความมั่นคง)
สิ่งสำคัญคือ การกระจายความเสี่ยง (Diversification) อย่าลงทุนในสินทรัพย์เพียงประเภทเดียว เพราะหากเกิดวิกฤตเศรษฐกินจ คุณอาจขาดทุนหนักได้จนสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดได้
พร้อมเริ่มต้นการลงทุนของคุณแล้วหรือยัง? ที่ IUX เราพร้อมสนับสนุนคุณในทุกขั้นตอน เรามีแหล่งข้อมูลฟรีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทความที่เข้าใจง่าย คำแนะนำทีละขั้นตอน หรือทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมช่วยเหลือ คุณจะเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มความมั่นใจในเรื่องการลงทุนได้แบบง่าย ๆ สมัครบัญชีวันนี้ แล้วมาร่วมสร้างความสำเร็จไปด้วยกัน
หาความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักมีความรู้เกี่ยวกับตลาดและสินทรัพย์ที่ตัวเองลงทุน หากคุณเป็นมือใหม่ ลองเริ่มต้นศึกษาจากเรื่องพื้นฐาน เช่น
- หุ้น (Stock): การลงทุนในบริษัทจดทะเบียน
- กองทุนรวม (Mutual Fund): การลงทุนที่กระจายความเสี่ยงโดยนักลงทุนมืออาชีพ
- ตราสารหนี้ (Bond): การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
คุณสามารถเรียนรู้เรื่องของการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆได้จากหนังสือ บทความ หรือเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ที่จัดโดยองค์กรที่น่าเชื่อถือ
ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
หากคุณยังไม่มั่นใจในแผนการเงินของตัวเอง การปรึกษา นักวางแผนการเงิน (Financial Planner) อาจเป็นทางเลือกที่ดี ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้สามารถช่วยคุณวางแผนและเลือกกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะกับสถานะการเงินของคุณได้
สรุป
การสร้างแผนการเงินที่มั่นคงเป็นรากฐานสำคัญของการลงทุน หากคุณเริ่มลงทุนโดยไม่มีแผนที่ดี คุณอาจเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น แต่หากคุณมีแผนการเงินที่แข็งแรง คุณจะลงทุนได้อย่างมั่นใจ และบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว
อย่าลืมว่า “การลงทุนที่ดี เริ่มจากแผนการเงินที่แข็งแรง”
เพราะแผนการเงินที่ดี จะช่วยให้คุณไปถึงฝั่งฝัน โดยไม่ต้องกลัวพายุลูกใดในตลาดลงทุน
หมายเหตุ: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน